top, SATTEL (THAILAND) CO., LTD.

The Perfect Storm

ความรู้เชิงเทคนิค


The Perfect Storm

ดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ให้ความสำคัญอย่างมากเรื่องการลดการใช้งานพลังงานและต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาการให้ข้อมูล ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญต่อ Mission Critical Industry อย่างไรก็ดีการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดถือเป็นขั้นแรกสำหรับภารกิจการลดความต้องการการใช้พลังงาน

กระบวนการใช้งานยอดนิยมคือ Power usage effectiveness (PUE) PUE เป็นมาตรวัดยอดนิยมที่คำนวณโดยการหารพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด (ที่เป็นกิโลวัตต์) ที่ใช้โดยระบบสารสนเทศในศูนย์ข้อมูลเพื่อรันโครงสร้างพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ภายใน ดังนั้น PUE จึงเป็นอัตราส่วนที่มาพร้อมการพัฒนาประสิทธิภาพทั้งหมด เพื่อให้ค่า PUE ลดลงถึง 1

สมาชิกแห่งองค์กรกรีนกริด (Green Grid) เป็นสมาคมอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นเรื่องประสิทธิภาพพลังงานของศูนย์ข้อมูล ได้สร้าง PUE ขึ้นมา ประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานศูนย์กลางข้อมูล (DCIE) สัมพันธ์กับ ประสิทธิภาพการใช้งานพลังงาน (PUE) และคิดออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็นที่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึง 100 เปอร์เซ็น

เนื่องจากไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่ไม่สามารถหาค่าได้ สิ่งแรกที่เราทำได้คือการระบุและการติดตั้งฮาร์ดแวร์หรือการวัดหน่วยความจำตลอดทั้งแบ็คโบนของระบบไฟฟ้า (Electrical Backbone) หรือที่เรียกว่ากระดูกสันหลังของระบบไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์อัจฉริยะและรวมเข้ากับเครือข่ายที่เข้าถึงได้ทั่วโลกสำหรับผู้ใช้ที่เป็น “The need to know”

3 ขั้นพื้นฐาน

  • ระบุผู้กระทำผิดด้านการใช้พลังงาน
  • จับกลุ่มผู้กระทำผิดโดยทำตามขั้นตอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ
  • วัดผลและขับเคลื่อนการปรับปรุงต่อไป

เนื่องจากทุกสิ่งที่เราทำก็เพื่อทำให้เครื่องจักรกลที่เราเรียกว่าศูนย์รวมข้อมูลนั้นมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือมากเท่าที่จะทำได้ การรอดพ้นจากปัญหานี้ได้คือการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ดาวน์ไทม์สามารถถูกวางแผนหรือไม่ได้วางแผนก็ได้ แต่ทุกครั้งที่เกิดดาวน์ไทม์จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบลดลง อาร์กแฟลชเป็นสิ่งสุดท้ายที่เราต้องการในการวางแผนดังกล่าว

อาร์กแฟลชที่เกิดจากความผิดพลาดของข้อต่อบัสหรือการเชื่อมต่อของสายเคเบิลซึ่งถือเป็นสาเหตุที่ร้ายแรงที่สุดที่ทำให้เกิดดาวน์ไทม์ ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ในขณะที่ยังคงรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าไว้คือการตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดดาวน์ไทม์ อาร์กแฟลชเป็นเสมือนลูกบอลแห่งไฟที่เกิดจากความผิดพลาดทางไฟฟ้า เอกสารทางวิชาการทางเทคนิคของราล์ฟ ลี ที่มีชื่อว่า “The other electrical Hazard: Electric Arc Blast Burns (1985)” ให้คำจำกัดความนึงว่า “กระแสไฟไหลผ่านไอของโลหะไฟฟ้าตัวนำขั้วอาร์ก”

การที่ค้นพบอาร์กแฟลชทำให้มาตรฐานความปลอดภัยได้รับความใส่ใจมากขึ้นและได้เปลี่ยนวิถีการซ่อมบำรุงรักษาแบบเดิมๆ แต่ถึงอย่างนั้นการบาดเจ็บร้ายแรงในสถานที่ทำงานและการเสียชีวิตจากเหตุการอาร์กแฟลชทางไฟฟ้ายังคงเกิดขึ้นในแต่ละปี

"สาเหตุที่ร้ายแรงที่สุดที่ก่อให้เกิดดาวน์ไทม์คือการเกิดอาร์กแฟลชที่เป็นผลมาจากความผิดพลาดของการเชื่อมต่อของเคเบิลหรือข้อต่อบัส"

การออกแบบ การสร้าง และการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าที่สำคัญแบบดั้งเดิมประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  • มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมาคู่กับข้อกำหนดของผู้ขาย (Vendor Compliance) จัดหาอุปกรณ์และเตรียมการฝึกเทรนบุคคลากรเพื่อให้เกิดความเข้าใจในคู่มือความปลอดภัยและการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
  • ตรวจสภาพของทุกๆการเชื่อมต่อและข้อต่อบัส ภายใต้การโหลดเต็มกำลังด้วยเครื่องสแกนความร้อนเป็นประจำทุกปีจะต้องทำการเปิดหรือนำประตู/ฝาปิด หรือแบริเออร์ภายในออก การใช้บุคคลในการสแกนอาจทำให้เกิดอาร์กแฟลช ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ทุกครั้ง การใช้เวลาและค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นจากการใช้เครื่องสแกนอินฟราเรดก็เหมือนๆการตรวจสแกนทั่วไปนั้นคือการสแกนที่ให้ผลเพียง “ภาพถ่าย ณ ช่วงเวลานั้น” การตีความผิดอาจทำให้ตรวจไม่พบข้อผิดพลาดของระบบ

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันประจำปีขึ้นอยู่กับการวัด การทดสอบ และการปรับเปลี่ยนเพื่อเป็นการปรับให้อุปกรณ์หรือระบบนั้นๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่การดำเนินการซ่อมบำรุงจะป้องกันอันตรายได้ร้อยเปอร์เซ็นเนื่องจากมีข้อกำหนดทาง NFPA70E : Standard Electrical 2018 Safety in the Workplace) (มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน) และ ขอบเขตของ PPE

ดังนั้นต้องมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันในการวัดค่าในระหว่างการทำงานของสวิตช์หรือเบรกเกอร์,การปลดล็อกอุปกรณ์ (Lock out), การปลดแท็ค (Tag out) และการดึงหรือถอดเบรกเกอร์สำหรับการบำรุงรักษา เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ซ่อมบำรุง การออกแบบระบบต้องประกอบไปด้วย “concurrent maintainability” (ความยืดหยุ่นที่ให้ส่วนประกอบของอุปกรณ์แยกเป็นส่วนๆไม่รบกวนการโหลดสำคัญต่างๆหรือส่งผลกระทบต่อการใช้งานต่างๆของระบบ แต่โชคร้ายที่ระบบเก่าไม่ได้ออกแบบให้มีลักษณะพิเศษดังกล่าวและไม่สามารถซ่อมบำรุงได้แบบสมบูรณ์ ในกรณีนี้ ทางออกคือ...

ดังนั้นต้องมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันในการวัดค่าในระหว่างการทำงานของสวิตช์หรือเบรกเกอร์,การปลดล็อกอุปกรณ์ (Lock out), การปลดแท็ค (Tag out) และการดึงหรือถอดเบรกเกอร์สำหรับการบำรุงรักษา เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ซ่อมบำรุง การออกแบบระบบต้องประกอบไปด้วย “concurrent maintainability” (ความยืดหยุ่นที่ให้ส่วนประกอบของอุปกรณ์แยกเป็นส่วนๆไม่รบกวนการโหลดสำคัญต่างๆหรือส่งผลกระทบต่อการใช้งานต่างๆของระบบ แต่โชคร้ายที่ระบบเก่าไม่ได้ออกแบบให้มีลักษณะพิเศษดังกล่าวและไม่สามารถซ่อมบำรุงได้แบบสมบูรณ์ ในกรณีนี้ ทางออกคือ...

  • ไม่ต้องบำรุงรักษาแบบเสร็จสมบูรณ์
  • การพันฮาร์ดไวน์ชั่วคราวไว้ที่ตัวเซอร์กิจ
  • ให้บุคคลปฏิบัติการทำงานแบบเสี่ยงต่อไป

การซ่อมบำรุงสามารถแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของความผิดพลาดของมนุษย์ซึ่งอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ เช่น การหลงลืมที่จะ re-close อุปกรณ์ตัดการเชื่อมต่อแบตเตอรี่สำหรับระบบยูพีเอส (UPS) ซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดเวลาไฟดับได้ การซ่อมบำรุงไม่ควรถูกละเลยแต่ต้องวางแผนอย่างรอบคอบที่สุดเสมือนแผนการจู่โจมในสนามรบ

ผมถามอธิการบดีแห่งคณะเทคโนโลยี (Mtechnology) ว่ามีเปอร์เซ็นที่บอกจำนวนความล้มเหลวในการปฏิบัติงานของมนุษย์ระหว่างการบำรุงรักษาใน Mission-Critical-Facilities หรือไม่

"คณิตศาสตร์ไม่ได้มีประโยชน์เสมอหลังเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คณิตศาสตร์ใช้ในการคำนวณผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบของการซ่อมบำรุง การคำนวณดังกล่าวใช้ในการช่วยหา Optimal Policy คณิตศาสตร์เพียงตัวเดียวไม่มีทางจะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์แต่เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยได้" สตีฟกล่าว


สตีฟยังคงกล่าวอีกว่าทุกสถานการณ์นั้นแตกต่างกันและความเสี่ยงต้องแยกมาเป็นส่วนๆเพื่อสร้างสถานการณ์จำลองในการแก้ไขปัญหาในแต่ละสถานการณ์ การปฏิบัติการบำรุงรักษาบางครั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออุปกรณ์เพราะฉะนั้นการไม่มีการซ่อมบำรุงรักษาจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดพลาดของมนุษย์แต่นี่คงไม่ใช่การตัดสินใจที่ชาญฉลาดนัก

การระบุและการติดตั้งตู้สวิชเกียร์ที่คงทนต่อความเสียหาย (Fault-Tolerant) ผู้ผลิตต่างเร่งที่จะพัฒนารูปแบบที่รวมโซลูชั่นและคุณสมบัติที่หลากหลายเพื่อสร้างความแตกต่างทางการตลาด การออกแบบอาจรวมถึง Guides หรือ Shutters เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาร์กแฟลชต่อผู้ซ่อมบำรุง

เครื่องตรวจจับอาร์กแฟลชรุ่นใหม่ทำให้การทำงานของเซอร์กิจเบรกเกอร์ที่อยู่ตรงสายบนของวงจร (Up-stream breaker) หรืออุปกรณ์สายล่างของวงจร (Downstream Devices) เกิด Bolted Fault ผู้ผลิตเบรกเกอร์บางรายได้สร้างสวิตซ์ที่ทำงานได้ดีกว่าการตั้งค่าการตัดไฟแบบปกติดังนั้นหากเกิด Bolted Fault ระหว่างการบำรุงรักษาหรือการทดสอบ เบรกเกอร์จะทำการตัดไฟโดยเร็วที่สุด การตั้งพอร์ตมุมมองพิเศษช่วยให้สามารถสแกนอินฟราเรดได้ โดยไม่ต้องเปิดฝา/ประตู

อย่างไรก็ตามวัสดุเลนส์พอร์ตที่มีมุมมองที่ดีที่สุดนั้นเปราะบางและอาจไม่ทนทานเมื่อเวลาผ่านไป วัสดุที่แข็งแรงกว่าอาจไม่ให้อัตราการแผ่รังสีอินฟราเรดมากเท่าที่ควรและประสิทธิภาพอาจลดลงเมื่อเวลาผ่านไป วิวพอร์ตอาจไม่ให้การสแกนข้อต่อบัสและสายเคเบิลหรือการเชื่อมต่อทั้งหมดอย่างละเอียด เนื่องจากมุมมองที่จำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบัสหรือสายเคเบิลซ้อนกัน

ปฏิบัติการซ่อมบำรุงรักษาจำเป็นต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง ข่าวดีก็คือ ความจำเป็นเป็นบ่อเกิดแห่งการสรรค์สร้างสิ่งใหม่ ความต้องการของข้อมูลที่มากขึ้นพร้อมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือและยังลดการใช้พลังงาน จะกำเนิดเทคโนโลยีใหม่และแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ เทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์และเกิดขึ้นใหม่นี้เป็นแบบติดตั้งการตรวจจับความร้อนที่ข้อต่อบัสและการเชื่อมต่อสายเคเบิลอย่างถาวร เนื่องด้วยจุดดังกล่าวเป็นสาเหตุของความผิดพลาดที่ก่อให้เกิดอาร์กแฟลช แนวทางนี้มีข้อดีหลายประการ

  • เครื่องตรวจจับความร้อนแบบ 7 วัน 24 ชั่วโมง ตลอด 365 วัน (7x24x365) จะแสดงผลแบบการสตรีมข้อมูลความร้อนซึ่งตรงกันข้ามกับภาพถ่ายที่ได้จากการสแกนอินฟราเรดแบบดั้งเดิม เมื่อรวมกับการตรวจจับพลังงานไฟฟ้า การวิเคราะห์เทรนกลายเป็นอาวุธชิ้นใหม่ที่เตรียมไว้เพื่อการป้องกันความผิดพลาดโดยเฉพาะ
  • ไม่จำเป็นต้องเปิดฝา/ประตู ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ PPE จึงทำให้ลดความเสี่ยงต่อผู้ซ่อมบำรุงได้อย่างมาก
  • การคาดการณ์จะง่ายขึ้น
  • เมื่อรวมเครื่องตรวจจับความร้อนกับเครื่องตรวจจับพลังงานไฟฟ้าเข้าด้วยกัน แผนที่แสดงความร้อนแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของเดลต้าทีจึงสามารถตรวจจับความผิดปกติได้ก่อนที่จะเกิดความผิดพลาด
  • เมื่อรวมเข้ากับการวัดค่าพลังงาน การวิเคราะห์ ระบุถึงการขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นอาจได้รับการแก้ไข และความต้องการใช้พลังงานจะลดลง

กราฟด้านล่างนี้เป็นการอธิบาย Concept นี้


  • เทคโนโลยีนี้ใช้กำหนดข้อมูลการเผยแพร่แบบ Open Protocal แบบไม่มีผู้ใดถือครองกรรมสิทธิ์ หากใช้งานคู่กับระบบการจัดการอาคาร (BMS) จะไม่เสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีหรือค่าธรรมเนียมต่อประจุ
  • สำหรับผู้ที่รับผิดชอบด้านการจัดการศูนย์กลางข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทั่วมุมโลก
  • เซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อนนี้ไม่ต้องใช้พาวเวอร์ซัพพลาย นั่นหมายความว่า ได้มีการช่วยลดในส่วนที่อาจเกิดการล้มเหลวได้แล้วหนึ่งส่วนและช่วยลดรายจ่ายในการตรวจแต่ละจุด
  • อุปกรณ์ตัวนี้สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยตัวมันเอง
  • อุปกรณ์หน้าสัมผัสโดยตรงที่ใช้กับ Line of site measurement นั้นใช้งานไม่ได้
  • ช่วงเวลาระหว่างการบำรุงรักษาแบบดั้งเดิมอาจจะยาวนานขึ้นหรือในบางกรณีก็ยุติการบำรุงรักษาไปเลย

ตัวอย่างของเทคโนโลยีนี้สร้างขึ้นเพื่อคาดการณ์ & ป้องกันความผิดพลาดและเพิ่มความน่าเชื่อถือ ในขณะเดียวกันทางทฤษฎีถือว่าช่วยลดความต้องการในการบำรุงรักษาและการดาวน์ไทม์ ปัญหานี้อาจดูมีทางออกอยู่บ้าง The mission Critical Industry อาจจะนำทางออกมาให้และสามารถนำมาใช้ในภาคส่วนอื่นๆ และจะสามารถหาหนทางในการแก้ปัญหาที่เหมือนจะเป็นไปไม่ได้นี้สำเร็จดังเช่นโครงการอวกาศ (Space program)

"จะถ่ายเป็นช็อตไปทำไมในเมื่อเราถ่ายได้ทั้งภาพ"

อ้างอิงข้อมูลจาก : Sandbrg, D. (2010), Senior Vice President Sales Operations, The Americas QHi-Group Inc ,The Perfect Storm, EXERTHERM 24X7 THERMAL MONITORING, Mission Critical Care May, Mission Critical Magazine, Available on PDF

อ้างอิงรูปภาพจาก : Available on PDF



Download brochure (PDF file)

สินค้าที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้

EXERTHERM, EXERTHERM, UK, Mini Infrared T/c Temperature(Delta T) Sensor
EXERTHERM
หมวด: EXERTHERM, UK
หมวดย่อย: Mini Infrared T/c Temperature(Delta T) Sensor


 

















Home | Company Profile | Certificate | Contact Us
PRIVACY POLICY: SATTELTHAILAND.COM COPYRIGHT © 2011 ALL RIGHTS RESERVED BY SATTELTHAILAND.COM | WEB DESIGN BY WEBCREATIONTEAM.COM