ทั่วไป
เป็นสายไฟฟ้าที่ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อใช้ติดตั้งในวงจรไฟฟ้าหรือในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยสูงมากกว่าปกติ สายทนไฟมีคุณสมบัติที่สำคัญคือในสภาวะที่เกิดเพลิงไหม้สายทนไฟสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยไม่ลัดวงจร เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับวงจรไฟฟ้าที่สำคัญ อาทิเช่น วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตต่างๆของอาคาร ให้สามารถทำงานได้เป็นปกติในยามที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งสายไฟฟ้าทั่วไปเมื่อถูกเพลิงไหม้ ฉนวนหรือส่วนประกอบของสายไฟจะถูกไฟไหม้ไปจนเกิดการลัดวงจรและไม่สามารถจ่ายไฟให้แก่วงจรได้ แต่สายทนไฟจะมีชั้นของวัสดุทนไฟ เช่น เทปไมก้าพันอยู่บนตัวนำทองแดง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันการลัดวงจรแทนฉนวนที่เป็นพลาสติกเมื่อสายถูกเพลิงไหม้ นอกจากนี้ สายทนไฟยังถูกออกแบบและผลิตด้วยวัตถุดิบพิเศษเพื่อให้มีคุณสมบัติที่ช่วยเสริมความปลอดภัยเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ คุณสมบัติต้านทานการลุกลามไฟ ควันน้อย ปริมาณสารฮาโลเจนเป็นศูนย์ และไม่ปล่อยก๊าซพิษที่มีฤทธิ์เป็นกรดเมื่อสายไฟถูกเพลิงไหม้
คุณสมบัติพิเศษต่างๆของสายไฟฟ้าทั้ง 2 ชนิด สามารถสรุปได้ ดังนี้
1. สายทนไฟ (FRC หรือ Fire Resistant Cable) มีคุณสมบัติ 4 ข้อ
1.1คุณสมบัติต้านทานการติดไฟ (Fire Resistance หรือ Circuit Integrity)
คือความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องเมื่อสายไฟถูกเพลิงไหม้ ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งโดยไม่เกิดการลัดวงจร
อ้างอิง มาตรฐานการทดสอบ BS 6387 category CWZ หรือ IEC 60331
1.2. คุณสมบัติต้านเปลวเพลิง (Flame Propagation or Flame Retardant)
คือคุณสมบัติต้านทานการลุกลามไฟของสายไฟฟ้า เมื่อสายไฟถูกเพลิงไหม้ เปลวไฟจะไม่ลุกลามไปตามสายไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว จึงช่วยจำกัดพื้นที่เพลิงไหม้ไม่ให้ขยายไปยังพื้นที่ส่วนอื่นๆได้
อ้างอิง มาตรฐานการทดสอบ IEC 60332-3 ซึ่งมีระดับของการทดสอบความต้านทานการลุกลามไฟแบ่งออกเป็นหลาย Category
ซึ่งระดับที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปคือ Category C ส่วนระดับที่มีความต้านทานการลุกลามไฟสูงสุดคือ Category A หรือ มาตรฐานการทดสอบ IEC 60332-1
1.3.คุณสมบัติการปล่อยควันน้อย (Low Smoke)
คือคุณสมบัติที่สายไฟฟ้าจะล่อยควันออกมาในปริมาณน้อยเมื่อสายไฟถูกเพลิงไหม้ สายไฟที่ปล่อยควันน้อยจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในขณะเกิดเพลิงไหม้ ช่วยให้การอพยพหนีไฟและการเข้าช่วยเหลือของทีมดับเพลิง หรือกู้ภัยสามารถทำได้สะดวก
อ้างอิง มาตรฐานการทดสอบ IEC 61034
1.4 คุณสมบัติการปล่อยก๊าซกรด (Acids Gas Emission)
คือสายไฟฟ้าปราศจากสารประกอบของธาตุหมู่ฮาโลเจน โดยฮาโลเจน คือธาตุในหมู่ 7 ในตารางธาตุ ซึ่งได้แก่ ฟลูออรีน(F)
คลอรีน(Cl) โบรมีน(Br) ไอโอดีน(I) และ แอสตาตีน(At) ซึ่งสารประกอบของธาตุเหล่านี้จะทำปฏิกิริยาเคมีและก่อให้เกิด
ก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดกัดกร่อนเมื่อถูกเพลิงไหม้ ยกตัวอย่างเช่นสายไฟฟ้าที่มีฉนวนหรือเปลือกเป็นพีวีซี จะมีสารประกอบ
ของธาตุคลอรีน(Cl) ซึ่งเมื่อถูกเพลิงไหม้จะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) หรือกรดเกลือออกมา โดยวิธีการหาปริมาณ
ก๊าซกรดฮาโลเจนตามมาตรฐาน กำหนดก๊าซกรดฮาโลเจนที่เกิดขึ้นไม่เกิน 5 mg/g หรือ 0.5% (Halogen Free) แต่หาก
สายไฟฟ้าที่ใช้วัสดุหรือส่วนประกอบอื่นบนโครงสร้างสายไฟนั้น ไม่มีส่วนประกอบก๊าซกรดฮาโลเจน หรือ ปริมาณก๊าซกรด
ฮาโลเจนเป็นศูนย์ (0 mg/g หรือ 0.0% = Zero Halogen)
อ้างอิง มาตรฐานการทดสอบ IEC 60754-1 และ IEC 60754-2
2. สายไฟ LSOH หรือ Low Smoke Zero Halogen cable มีคุณสมบัติ 3 ข้อ
2.1 คุณสมบัติต้านเปลวเพลิง (Flame Propagation or Flame Retardant)
คือคุณสมบัติต้านทานการลุกลามไฟของสายไฟฟ้า เมื่อสายไฟถูกเพลิงไหม้ เปลวไฟจะไม่ลุกลามไปตามสายไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว จึงช่วยจำกัดพื้นที่เพลิงไหม้ไม่ให้ขยายไปยังพื้นที่ส่วนอื่นๆได้
อ้างอิง มาตรฐานการทดสอบ IEC 60332-3 ซึ่งมีระดับของการทดสอบความต้านทานการลุกลามไฟแบ่งออกเป็นหลาย
Category ซึ่งระดับที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปคือ Category C ส่วนระดับที่มีความต้านทานการลุกลามไฟสูงสุดคือ
Category A หรือ มาตรฐานการทดสอบ IEC 60332-1
2.2 คุณสมบัติการปล่อยควันน้อย (Low Smoke)
คือคุณสมบัติที่สายไฟฟ้าจะปล่อยควันออกมาในปริมาณน้อยเมื่อสายไฟถูกเพลิงไหม้ สายไฟที่ปล่อยควันน้อยจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในขณะเกิดเพลิงไหม้ ช่วยให้การอพยพหนีไฟและการเข้าช่วยเหลือของทีมดับเพลิง หรือกู้ภัยสามารถทำได้สะดวก
อ้างอิง มาตรฐานการทดสอบ IEC 61034
2.3 คุณสมบัติการปล่อยก๊าซกรด (Acids Gas Emission)
คือสายไฟฟ้าปราศจากสารประกอบของธาตุหมู่ฮาโลเจน โดยฮาโลเจน คือธาตุในหมู่ 7 ในตารางธาตุ ซึ่งได้แก่ ฟลูออรีน(F) คลอรีน(Cl) โบรมีน(Br) ไอโอดีน(I) และ แอสตาตีน(At) ซึ่งสารประกอบของธาตุเหล่านี้จะทำปฏิกิริยาเคมีและก่อให้เกิด
ก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดกัดกร่อนเมื่อถูกเพลิงไหม้ ยกตัวอย่างเช่นสายไฟฟ้าที่มีฉนวนหรือเปลือกเป็นพีวีซี จะมีสารประกอบของธาตุคลอรีน(Cl) ซึ่งเมื่อถูกเพลิงไหม้จะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) หรือกรดเกลือออกมา โดยวิธีการหาปริมาณ
ก๊าซกรดฮาโลเจนตามมาตรฐาน กำหนดก๊าซกรดฮาโลเจนที่เกิดขึ้นไม่เกิน 5 mg/g หรือ 0.5% (Halogen Free) แต่หากสายไฟฟ้าที่ใช้วัสดุหรือส่วนประกอบอื่นบนโครงสร้างสายไฟนั้น ไม่มีส่วนประกอบก๊าซกรดฮาโลเจน หรือ ปริมาณก๊าซกรดฮาโลเจนเป็นศูนย์ (0 mg/g หรือ 0.0% = Zero Halogen)
อ้างอิง มาตรฐานการทดสอบ IEC 60754-1 และ IEC 60754-2
อ้างอิงข้อมูลจาก : วสท. (วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย) The Engineering Institute of Thailand Under H.M. The King's Patronage (EIT), LEONI Studer AG, FIRE RESISTANT MINERAL INSULATED CABLES
อ้างอิงรูปภาพจาก: LEONI Studer AG, FIRE RESISTANT MINERAL INSULATED CABLES